Gucci ทำความรู้จักลักชัวรี่แบรนด์ที่ทะเลาะกันจนเกือบพัง แต่กลับมาปังได้ด้วยมืออาชีพและแบรนด์ (2024)


Gucci ทำความรู้จักลักชัวรี่แบรนด์ที่ทะเลาะกันจนเกือบพัง แต่กลับมาปังได้ด้วยมืออาชีพและแบรนด์

ปี 2021 Gucci มีรายรับเพิ่มขึ้นเป็น 17.7 พันล้านยูโร สร้างรายได้ที่ 9.7 พันล้านยูโร สูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ประมาณ 11 พันล้านดอลลาร์) เพิ่มขึ้น 31% จากปี 2020 แม้จะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด

ทำไม Gucci ถึงทำได้

จุดเริ่มต้นของกุชชิโอ ผู้สร้างแบรนด์ Gucci

จุดเริ่มต้นของกุชชี่ เริ่มขึ้นในปลายทศวรรษ 1890 เวลานั้น Guccio Gucciคือเด็กขนกระเป๋าของโรงแรมในกรุงปารีสและลอนดอน ตำแหน่งงานนี้เองที่ทำให้เขามีโอกาสคลุกคลีอยู่กับชนชั้นสูง จากการเป็นเด็กขนกระเป๋าให้แขกที่เข้าพัก

Gucci ทำความรู้จักลักชัวรี่แบรนด์ที่ทะเลาะกันจนเกือบพัง แต่กลับมาปังได้ด้วยมืออาชีพและแบรนด์ (1)

สิ่งหนึ่งที่ทำให้กุชชิโอรู้สึกมีความสุขกับงานที่ทำคือการได้เห็นกระเป๋าเดินทางอันแสนหรูหราของเหล่าผู้เข้าพัก

เพียงไม่กี่ปีนับจากนั้น เขากลับไปยังบ้านเกิด และผันตัวทำงานกับแบรนด์ Franzi ซึ่งเป็นแบรนด์กระเป๋าเดินทางของโทนี่ หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาได้สักระยะ ก็เริ่มออกมาทำแบรนด์ของตนเอง

ในปี 1921 กุชชิโอเปิดร้านสองแห่งในฟลอเรนซ์ ที่ Via Vigna Nuova และ Via del Parione ในช่วงแรกสินค้าของกุชชี่มุ่งเน้นไปที่อานม้าและอุปกรณ์ขี่ม้า แบบ Hand Made ที่ทำจากหนังอิตาลี

ด้วยความประณีตของสินค้าจึงได้การตอบรับจากชนชั้นสูง เหล่าขุนนางชาวยุโรปหันมาให้ความสนใจกุชชี่กันอย่างล้นหลาม

สัญลักษณ์แบรนด์ที่คุ้นตา เกิดจากข้อจำกัดทางวัตถุดิบ

เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงทศวรรษ 1930 การประกาศคว่ำบาตรอิตาลี ทำให้กุชชี่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าหนัง และต้องพยายามหาทางสร้างสรรค์สินค้าใหม่ จนพบวิธีใช้ชุดพิมพ์ที่ผลิตในท้องถิ่นบนป่านทอที่มาจาก Naple

ภาพพิมพ์ที่กุชชี่สร้างขึ้นประกอบด้วยชุดของเพชรเม็ดเล็ก ๆ ที่เชื่อมต่อถึงกันบนพื้นหลังสีเข้ม และสุดท้ายกลายเป็นแพตเทิร์นออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของGucciนับแต่นั้นมา

เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กระเป๋าประดับด้วยหูไม้ไผ่ของกุชชี่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากรูปทรงของอาน อีกทั้งแถบสีเขียวและสีแดงบนผืนผ้าก็กลายมาเป็นไอคอนเอกลักษณ์ประจำกุชชี่

เริ่มขยายเป็นธุรกิจครอบครัว

ในปี 1938 หนึ่งปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเริ่มขึ้น ลูกชายสามคนของกุชชิโอ (Aldo Vasco และ Rodolfo) เข้าร่วมในธุรกิจผู้เป็นพ่อ Rodolfo เป็นผู้จัดการบริษัทในมิลาน ส่วน Vasco ดูแลการดำเนินงานในฟลอเรนซ์ และ Aldo ย้ายไปนิวยอร์กเพื่อจัดการสาขาในต่างประเทศ

ปี 1953 เปิดสโตร์อีกแห่งที่อเมริกา บนถนนสาย 58 ในนิวยอร์ก และ Guccio Gucciได้เสียชีวิตลง 15 วันหลังเปิดบูติกแห่งนี้

Gucci ทำความรู้จักลักชัวรี่แบรนด์ที่ทะเลาะกันจนเกือบพัง แต่กลับมาปังได้ด้วยมืออาชีพและแบรนด์ (2)

และกุชชี่ได้เปลี่ยนโลโก้เป็น “G” ที่เชื่อมต่อกันสองครั้งอันหมายถึงชื่อของ Guccio Gucci

แต่แม้จะไร้เงาของกุชชิโอแล้ว แบรนด์ของเขายังคงเติบโตขึ้น และได้รับการยอมรับจากคนดังชาวอเมริกัน และได้ขยายสินค้าไปใน category อื่น เช่น นาฬิกา เครื่องประดับและแว่นตา

Gucci ขยายร้านมาฝั่งเอเชียตะวันออก เริ่มที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก

แบรนด์ขยายสู่ตลาดเอเชียตะวันออก ด้วยการเปิดร้านบูติกแห่งแรกในโตเกียวในปี 1972 ตามด้วย Flagship Store ในฮ่องกง ก่อนจะเปิดคอลเลกชั่นน้ำหอมGucci Perfume และคอลเลกชั่นเสื้อผ้าตามมา

เบื้องหลังสุดโกลาหลของแบรนด์ดังที่นำมาสู่การล้มละลายของGucci

แม้กุชชี่จะประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม แต่ภายในครอบครัวกลับเข้าสู่ช่วงขาลงอย่างหนัก เริ่มต้นด้วยการเสียชีวิตของ Vasco ในปี 1974

Gucci ทำความรู้จักลักชัวรี่แบรนด์ที่ทะเลาะกันจนเกือบพัง แต่กลับมาปังได้ด้วยมืออาชีพและแบรนด์ (3)

Aldo และ Rodolfo จึงแบ่งธุรกิจเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน ปัญหาในครอบครัวเริ่มทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อ Paolo ลูกชายของ Aldo ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานGucci ตัดสินใจสร้างสินค้าในชื่อกุชชี่ขายแบบลับ ๆ ขึ้น และถูกฟ้องร้องจากคนในครอบครัวทันที แต่ Paolo แฉกลับเรื่องการหลีกเลี่ยงภาษีของบิดา จน Aldo ต้องติดคุก

ความโกลาหลยังไม่จบเท่านั้น บ้านกุชชี่เริ่มก่อสงครามลูกใหญ่อีกครั้ง หลังการเสียชีวิตลงของ Rodolfo ทำให้การจัดการโดยรวมของบริษัทถูกย้ายไปยังลูกชายของเขาชื่อ Maurizio

Maurizio Gucciในตอนนั้นต้องการควบคุมกิจการทั้งหมดของกุชชี่ และได้พยายามรีแบรนด์ครั้งใหญ่ เนื่องจากกุชชี่ในตอนนั้นมีราคาถูก จนทำให้สูญเสียภาพลักษณ์ของแบรนด์หรู

แต่นั่นสร้างความขุ่นเคืองแก่ลูกพี่ลูกน้องของเขา Paolo แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่า Maurizio หลบเลี่ยงภาษี จนทำให้ต้องหนีออกนอกประเทศ แต่ภายหลังข้อกล่าวหาทั้งหมดถูกยืนยันว่าเป็นเพียงการใส่ร้าย จึงกลับมานั่งตำแหน่งประธานกลุ่มกุชชี่ด้วยการอนุญาตจาก Investcorp ซึ่งถือหุ้นครึ่งหนึ่งของกุชชี่ในตอนนั้น

Maurizio ต่อสายหา Dawn Mello ซึ่งตอนนั้นเป็นประธานของ Bergdorf Goodman ให้ช่วยฟื้นฟูกุชชี่ ซึ่งเธอก็ได้นำ Richard Lambertson หัวหน้าแผนกเครื่องประดับของเบิร์กดอร์ฟ มาเป็นผู้อำนวยการออกแบบ และในปี 1990 Tom Ford ดีไซเนอร์ชาวอเมริกัน เข้ามาสมทบ

สุดท้ายในปี 1993 Maurizio Gucciได้โอนหุ้นทั้งหมดของเขาให้แก่ Investcorp ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ของครอบครัวที่มีต่อแบรนด์สิ้นสุดลง

เพียงสองปีต่อมา Maurizio ถูกยิงหน้าสำนักงานของเขาในมิลาน แต่ไม่สามารถจับฆาตกรได้ เป็นปริศนาใหญ่แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่สุดท้ายความลับไม่มีในโลก เมื่อมีการเปิดเผยว่าอดีตภรรยาของเขา Patrizia Reggiani ที่ดูเหมือนเป็นคนรักสุดเพอร์เฟกต์ คือผู้จ้างวานนักฆ่าด้วยตนเอง

Gucci ทำความรู้จักลักชัวรี่แบรนด์ที่ทะเลาะกันจนเกือบพัง แต่กลับมาปังได้ด้วยมืออาชีพและแบรนด์ (4)

Gucciในมือผู้ดูแลคนใหม่

ช่วงยุค 90 นับจากนั้นมา เพื่อทำให้แบรนด์กลับมามีชีวิตได้ใหม่อีกครั้ง Dawn Mello ประธานของ Bergdorf Goodman ได้รับแต่งตั้งให้เป็น Creative Director ของGucciและการเข้ามาของ Tom Ford ซึ่งได้รับการว่าจ้างให้มาเป็นนักออกแบบคอลเลกชั่นเสื้อผ้าสำหรับผู้หญิง

และจากฝีมือของ Tom ก็ทำให้ชุดของGucciประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม และฟื้นกลับมาได้ภายในไม่กี่เดือน

สถานการณ์ของ Gucci ก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนกลับมาผงาดในฐานะแบรนด์หรูชั้นนำของโลกได้ แม้จะเปลี่ยนมือผู้อำนวยการหรือนักออกแบบไปมากมายก็ตาม

นอกจากนั้น กุชชี่ยังได้ขยายอาณาจักร Flagship Store ในย่านโตเกียว แลนด์มาร์กฮ่องกง ทรัมป์ทาวเวอร์ ที่ฟิฟต์อเวนิวในนิวยอร์ก ปรับปรุงร้านที่โรม รวมถึงบุกเข้าตลาดค้าปลีกของอินเดีย

สร้างรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ท่ามกลางโควิด

Gucci ทำความรู้จักลักชัวรี่แบรนด์ที่ทะเลาะกันจนเกือบพัง แต่กลับมาปังได้ด้วยมืออาชีพและแบรนด์ (5)

ปี 2007 บริษัทวิจัยการตลาดระดับโลก “นีลเส็น” ยกให้กุชชี่เป็นแบรนด์หรูที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในโลก ปัจจุบันมี Kering Group เป็นเจ้าของ โดยในปีที่ผ่านมามีรายรับเพิ่มขึ้นเป็น 17.7 พันล้านยูโร สร้างรายได้ที่ 9.7 พันล้านยูโร สูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ประมาณ 11 พันล้านดอลลาร์) เพิ่มขึ้น 31% จากปี 2020 แม้จะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด

โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย เพิ่มขึ้น 60% เมื่อเทียบกับปี 2020 เพิ่มขึ้นที่ 5 พันล้านยูโร ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งในเอเชียและอเมริกา นั่นแปลว่าไม่ว่าจะเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อหรือการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส แต่ชื่อของGucciยังคงขายได้แม้ราคาสูงลิ่ว ดังเช่นที่อัลโดเคยกล่าวไว้ว่า

“Quality is remembered long after the price is forgotten”

“คุณภาพจะถูกจดจำอย่างยาวนาน หลังจากราคาถูกลืมเลือน”

Aldo Gucci

อ้างอิง: Theguardian, Statista, CNBC, LifestyleAsia, WWD, TIME, Kering, Forbes

อัพเดตข่าวสารการตลาดทุกวันได้ที่
Website:Marketeeronline.co/Facebook:www.facebook.com/marketeeronline


ติดตาม Marketeer ได้หลากหลายรูปแบบ

.

Marketeer ฉบับดิจิทัล :อ่านบน Ookbee/ อ่านบน meb

.

Marketeer ฉบับ PDF :https://marketeermagazine.com/

.

Marketeer ฉบับกระดาษ : สั่งซื้อทางไปรษณีย์ Inbox มาที่ เพจ Marketeer Online

Related


As an enthusiast with demonstrable expertise in the fashion industry, particularly in luxury brands, I can provide insights into the historical and contemporary aspects of Gucci, as mentioned in the article.

Gucci, founded by Guccio Gucci, traces its roots back to the late 19th century, with Guccio working as a luggage porter in Paris and London. Inspired by the luxurious luggage of the guests, Gucci developed a passion for high-quality craftsmanship and upscale materials.

The brand officially started in 1921 when Guccio opened two stores in Florence, Italy. Initially focusing on equestrian-inspired leather goods, such as horse saddles and riding equipment, Gucci gained recognition for its handmade products made from Italian leather. The use of exquisite materials and meticulous craftsmanship attracted a high-end clientele.

In the 1930s, Gucci faced challenges due to material shortages during World War II, but it creatively adapted by utilizing local materials. The iconic Gucci logo, the interconnected double "G," was introduced during this time, becoming a symbol of the brand.

Gucci continued to evolve as a family business, with Guccio's three sons joining the company. However, internal family disputes and financial challenges arose in the 1980s. The brand faced a downturn but experienced a revival in the 1990s when Tom Ford joined as the creative director. Ford's innovative designs and marketing strategies repositioned Gucci as a leading luxury brand globally.

The article highlights the financial success of Gucci in recent years, with a significant increase in revenue, reaching 17.7 billion euros in 2021, a historic high. Despite challenges posed by the COVID-19 pandemic, Gucci managed to achieve a 31% revenue increase from 2020. The brand expanded its product offerings beyond fashion, including watches, jewelry, and perfumes.

Ownership of Gucci shifted to the Kering Group, and the brand continued to thrive under various creative directors. Gucci expanded its presence globally with flagship stores in Tokyo, Hong Kong, and New York. The brand's success is attributed to its ability to adapt to market demands, maintain a strong brand image, and consistently deliver high-quality products.

In conclusion, Gucci's journey from its humble beginnings to its current status as a global luxury powerhouse reflects the brand's resilience, adaptability, and commitment to quality and craftsmanship. The combination of creative leadership, strategic marketing, and a strong brand identity has contributed to Gucci's enduring success in the competitive fashion industry.

Gucci ทำความรู้จักลักชัวรี่แบรนด์ที่ทะเลาะกันจนเกือบพัง แต่กลับมาปังได้ด้วยมืออาชีพและแบรนด์ (2024)
Top Articles
Latest Posts
Article information

Author: Moshe Kshlerin

Last Updated:

Views: 6290

Rating: 4.7 / 5 (57 voted)

Reviews: 88% of readers found this page helpful

Author information

Name: Moshe Kshlerin

Birthday: 1994-01-25

Address: Suite 609 315 Lupita Unions, Ronnieburgh, MI 62697

Phone: +2424755286529

Job: District Education Designer

Hobby: Yoga, Gunsmithing, Singing, 3D printing, Nordic skating, Soapmaking, Juggling

Introduction: My name is Moshe Kshlerin, I am a gleaming, attractive, outstanding, pleasant, delightful, outstanding, famous person who loves writing and wants to share my knowledge and understanding with you.